วัดประดู่บางจาก Watpradoobangja

ประวัติ
วัดประดู่บางจากตั้งอยู่บนถนทเบญจะ ซอยเพชรเกษม 36 แขวงปากคลอง
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 เท่าที่ค้นคว้าหาหลักฐานแล้วไม่พบข้อมูลที่จริง
สันนิษฐานตามประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตามคำบอกเล่าของผู้อายุเล่าสืบต่อกันมาถึงวัตถุอันเก่าแก่เช่น
วัตถุก่อสร้าง อิฐ ปูน รูปพรรณสัณฐานของโบสถ์และปูชนียสถานอย่างอื่นเท่าที่ปรากฏอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้จึงสันนิษฐานว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ.2320 ซึ่งเป็นสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2322 เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดประดู่บางจากนั้นสืบเนื่องมาจากในสมัยนั้นมีวัดประดู่ 2 วัดตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันและมีชื่อวัดประดู่อีกหลายวัด คนในสมัยนั้นและสมัยนี้เชื่อสืบต่อกันมาว่าบริเวณที่สร้างวัดมีต้นประดู่อีกทั้งในสมัยเมื่อ 100 ปี ก่อนทั้งพระนครและธนบุรีมีต้นประดู่อยู่ทั่วไป
อีกข้อสันนิษฐษนหนึ่งคือการที่ได้ชื่อของวัดเช่นกัน ได้ตั้งตามนามของผู้สร้างวัดเพราะในขณะนั้นได้มีนางประดู่ผู้เป็นเจ้าจอมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งได้แต่งงานกับนางประดู่ผู้มาจากเขตอำเถออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมาหาราชยกกองทัพเรือไปจังหวัดสมุทรสงครมเมื่อยกทัพกลับมากรุงเทพฯได้เดินทางมาทางคลองแม่กลองและคลองสามสิบสองคตมุ่งหน้าออกสู่มหาชัยตามคลองเรื่อยมาสู่ คลองบางจากจนกระทั่งถึงคลองบางหลวงและได้นำนางประดู่ไปอยู่ที่สวนอนันต์ ซึ่งเป็นวังส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้นต่อมาประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ชี้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงวิกลจริตไป เหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้นกำลังวุ่นวายมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะอำนาจทางการทหารเริ่มอยู่ในกำมือของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นางประดู่ซึ่งเป็นเจ้าจอมองค์หนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแต่ไม่ได้รับการยกย่อยก็เริ่มมองเห็นเหตุร้ายจะมาถึงพระสวามี พระนางจึงได้สร้างวัดเป็นการใหญ่เพื่อจะหาบุตรให้คุ้มครองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและจะเป็นที่หลบภัยของพระนางด้วย เพราะในสมัยนั้นจะเป็นผู้ร้ายก็ดีหรือผู้ทำผิดคิดร้ายต่อแผ่นดินก็ดีพวกเล่นการเมื่องก็ดี ถ้าไปหลบอยู่ในวัดแล้วก็ไม่มีผู้ใดกล้าล่วงละเมิดเข้าไปจับเพราะคนสมัยนั้นนับถือวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ ไม่มีผู้ใดกล้าล่วงละเมิดเข้าไปเกี่ยวข้องในวัดเป้นอันขาด

รายนามเจ้าอาวาสของวัดประดู่บางจากในอดีต-ปัจจุบัน
    1. พระอธการบุญ ธม.มสโร พ.ศ. 2410 
    2.พระอธิการนาค พ.ศ. 2411
    3. พระอธิการคล้าย พ.ศ. 2413-2434 
    4.พระอธิการคุ้ม พ.ศ. 2413-2438
    5.พระอธิการบุญ ธม.มสโร พ.ศ. 2434-2441 
    6.พระอธิการอ้อม พ.ศ. 2442-2451
    7.พระอธิการอ้อม พ.ศ.2452-2464
    8.พระพระธิการบุญ ธม.มสโร พ.ศ.2465-2467
    9.พระอธิการน้อย จน.ทสโร พ.ศ.2468-2471 
 10.พระอธิการเกลี้ยงปุง.คโว พ.ศ.2471-2478
 11.พร อธิการคำ ยส.สสิโน พ.ศ.2480-2488 
 12.พระครูสมบุญ จน.ทาโร พ.ศ.2490-22502
 13.พระครวิเชียรธรมโกวิทย พ.ศ.2502-2509 
 14.พระครูโสภณนันทคุณ พ.ศ.2510-2525
 15.พระครูวิเชียรธรรมโกวิท พ.ศ.2525-2526 
 16.พระครูเมธีวรานุวัตร (สาย) พ.ศ.2526 จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น